Accessibility Tools
ยุทธศาสตร์ของสำนักงาน ก.ค.ศ. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
1. ยุทธศาสตร์เสริมสร้างค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลที่นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
- เป้าประสงค์
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อกฎหมายเกี่ยวกับค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลที่ส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีในการปฏิบัติงาน
- ตัวชี้วัด
ร้อยละของระดับความพึงพอใจของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อกฎหมายเกี่ยวกับค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลของ ก.ค.ศ. ที่ส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีในการปฏิบัติงาน
- กลยุทธ์
1) พัฒนาระบบคลังความรู้ (Knowledge Ware House) ที่ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการประเมินวิทยฐานะ ค่าตอบแทน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลตาม พ.ร.บ. ครู และ พ.ร.บ. เงินเดือนของ ก.ค.ศ. สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้มีส่วนได้เสียที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-Learning) ในรูปแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) ผ่านระบบออนไลน์
2) พัฒนาและปรับปรุงกฎระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินวิทยฐานะ ค่าตอบแทน สวัสดิการ สิทธิประโยชน์เกื้อกูลทาง พ.ร.บ. ครูและ พ.ร.บ. เงินเดือนของ ก.ค.ศ. โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research Based)
3) พัฒนาเครื่องมือในการประเมินที่เกี่ยวข้องกับการประเมินวิทยฐานะ ค่าตอบแทน สวัสดิการ สิทธิประโยชน์เกื้อกูล ทาง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และ พ.ร.บ. เงินเดือนฯ โดยใช้วิจัยเป็นฐานที่เชื่อมโยงและบูรณาการกับบริบทจริงของการปฏิบัติงานในวิชาชีพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
4) พัฒนาและปรับปรุงกฎระเบียบหลักเกณฑ์ ระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เหมาะสมกับบริบท การจัดการศึกษาที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติตนในวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล เชิงประจักษ์
5) ส่งเสริมการพัฒนาประสิทธิภาพของเงินทุนหมุนเวียนที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
6) สำรวจ วิจัย และจัดทำฐานข้อมูลในประเด็นที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
2. ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลสมดุลกับบริบทการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยการพัฒนากฎหมายที่มีกระบวนการเป็นมาตรฐาน
- เป้าประสงค์
1) สำนักงาน ก.ค.ศ. สามารถพัฒนากฎระเบียบหลักเกณฑ์และกรอบอัตรากำลังที่มีความถูกต้อง เป็นมาตรฐาน และสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) สำนักงาน ก.ค.ศ. มีฐานข้อมูลงานวิจัย การกำกับ ติดตาม ประเมินผล เสริมสร้างความรู้และให้คำปรึกษาที่ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากฎหมายที่มีประสิทธิภาพ
- ตัวชี้วัด
1) ร้อยละของจำนวนคำขอหารือหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับกฎระเบียบหลักเกณฑ์กรอบอัตรากำลังที่พัฒนาและได้ประกาศใช้แล้ว
2) จำนวนระบบฐานข้อมูลของสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากฎหมายที่มีประสิทธิภาพ
- กลยุทธ์
1) พัฒนากฎระเบียบหลักเกณฑ์กรอบอัตรากำลังที่อายุเกิน 5 ปี ให้มีความถูกต้องและทันสมัย ทันเวลา สอดคล้องกับบริบทด้านการบริหารงานบุคคลและบริบทการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐานในการพัฒนา
2) พัฒนาระบบการให้คำปรึกษาด้านการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของ ก.ค.ศ. ด้วยช่องทางที่หลากหลายและเข้าถึงง่าย ถูกต้อง ทันสมัย ทันเวลา เพื่อจัดการความรู้ (KM) ให้กับผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และบุคลากรของสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่มีประสิทธิภาพ
3) พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการบริหารงานบุคคลให้สามารถใช้งานในรูปแบบ Business Intelligence ที่นำไปสู่การได้สารสนเทศที่ส่งเสริมประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนางานด้านการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงาน ก.ค.ศ.
4) พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลการใช้หลักเกณฑ์ด้านบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงาน ก.ค.ศ. ให้สามารถรับรู้สารสนเทศจากการติดตามและประเมินผลที่ส่งเสริมการพัฒนาหลักเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด
3. ยุทธศาสตร์เสริมพลังเครือข่ายในการปฏิบัติงานของสำนักงาน ก.ค.ศ. ด้วยกลไกการจัดการความรู้ ผ่านการสื่อสารองค์กรด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและทันเวลา ตอบโจทย์การดำเนินงานตามพันธกิจ
- เป้าประสงค์
หน่วยงานและเครือข่ายที่ส่งเสริมและเกี่ยวข้องในการดำเนินงานของสำนักงาน ก.ค.ศ. มีความรู้และความเข้าใจกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและมีการดำเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างทันสมัยและทันเวลาตามกฎระเบียบหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
- ตัวชี้วัด
ร้อยละของจำนวนข้อร้องเรียนที่มีมูลที่ลดลงในการบังคับใช้กฎระเบียบหลักเกณฑ์ของ ก.ค.ศ.
- กลยุทธ์
1) ส่งเสริมการดำเนินงานร่วมกับกลไกการดำเนินงานของเครือข่าย พันธมิตร องค์กรภายนอกที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฎระเบียบหลักเกณฑ์มาช่วยดำเนินงานและเผยแพร่องค์ความรู้ในการดำเนินงานตามพันธกิจของสำนักงาน ก.ค.ศ.
2) ส่งเสริมกิจกรรมที่ใช้การจัดการความรู้เป็นฐาน (KM Based) ในการรวบรวมและระดมความคิดเห็นของเครือข่าย พันธมิตร องค์กรภายนอกที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฎระเบียบหลักเกณฑ์เพื่อออกกฎที่มีมาตรการเพื่อลดการเกิดข้อร้องเรียนในการบังคับใช้กฎระเบียบหลักเกณฑ์ เพื่อสะท้อนสารสนเทศสำคัญในการพัฒนาประสิทธิภาพของภารกิจการพัฒนาเครือข่าย
3) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยสนับสนุนการจัดการความรู้และการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบและหลักเกณฑ์ในการดำเนินงานตามพันธกิจของสำนักงาน ก.ค.ศ. เพื่อเป็นฐานในการจัดการความรู้ให้กับเครือข่าย พันธมิตร องค์กรภายนอกในการส่งเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานตามพันธกิจของสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่นำไปสู่การเพิ่มคุณภาพในการบริการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นผู้รับบริการหลักของ ก.ค.ศ. เช่น ระบบที่ปรึกษาผ่านออนไลน์ ระบบฐานข้อมูล FAQ (Frequently Asked Questions) เป็นต้น
4) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ระบบฐานข้อมูลเชิงบูรณาการ หรือ การจัดทำ Big Data บูรณาการเข้ากับกระบวนการและเครื่องมือทางการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามผลการดำเนินงานและการบังคับใช้กฎระเบียบหลักเกณฑ์ของเครือข่าย เพื่อสะท้อนสารสนเทศสำคัญในการพัฒนาประสิทธิภาพของภารกิจการพัฒนาเครือข่าย
5) วิจัย สำรวจ หรือจัดทำฐานข้อมูลความต้องการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนการออกกฎระเบียบหลักเกณฑ์เพื่อลดข้อร้องเรียนจากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงกลยุทธ์ที่จะนำไปสู่การบริหารจัดการเพื่อลดข้อร้องเรียนที่กระทบกับพันธกิจของสำนักงาน ก.ค.ศ.
ยุทธศาสตร์พัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามพันธกิจของสำนักงาน ก.ค.ศ.โดยใช้การวิจัยและเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐานในการขับเคลื่อน
- เป้าประสงค์
1) กฎหมาย กฎระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด ที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจ
การดำเนินงานได้รับการพัฒนาและปรับปรุงโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
2) กระบวนการในการปฏิบัติงานตามพันธกิจของสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพโดยใช้การประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐาน
- ตัวชี้วัด
1) ร้อยละของจำนวนกฎหมาย กฎระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. ที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจการดำเนินงานที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน
2) ร้อยละของจำนวนกระบวนการในการปฏิบัติงานตามพันธกิจของสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพโดยใช้การประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐาน
- กลยุทธ์
1) ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้เชิงนวัตกรรมที่บูรณาการงานระหว่างการวิจัย เทคโนโลยีดิจิทัล และงานด้านการบริหารงานบุคคล หรืองานประจำอื่น ๆ ของสำนักงาน ก.ค.ศ. เพื่อให้เกิดการพัฒนาเชิงนวัตกรรมในการพัฒนา ปรับปรุงและแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน
2) สนับสนุนให้บุคลากรของสำนักงาน ก.ค.ศ. มีทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานในบริบทการปฏิบัติงานจริง
3) ส่งเสริมและเสริมพลังให้ภารกิจวิจัยและงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นช่องทางการให้คำปรึกษากับบุคลากรของสำนักงาน ก.ค.ศ. ในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านวิจัยและเทคโนโลยีดิจิทัลไปพัฒนาประสิทธิภาพ ปรับปรุงและแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานในระบบพี่เลี้ยง (Mentor System)
4) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารงานบุคคลและการพัฒนาระบบงานของสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนประสิทธิภาพขององค์กรให้เป็นองค์กรที่มีศักยภาพสูง (HPO)
5) วิจัยและสำรวจเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคที่องค์กรไม่สามารถกำหนดประเด็นวิจัยและนำงานวิจัยไปใช้เป็นฐานในการออกกฎระเบียบ
5. ยุทธศาสตร์พัฒนาสมรรถนะบุคลากรของสำนักงาน ก.ค.ศ. เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงาน เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปพร้อมกับความก้าวหน้าในสายอาชีพเพื่อนำไปสู่องค์กรที่มีศักยภาพสูง
- เป้าประสงค์ที่ 1
กระบวนการการดำเนินงานของสำนักงาน ก.ค.ศ. สามารถปฏิบัติได้ ตาม Key Requirement
- ตัวชี้วัด
ร้อยละของกระบวนการของสำนักงาน ก.ค.ศ. สามารถปฏิบัติได้ ตาม Key Requirement
- กลยุทธ์
1) พัฒนาบุคลากรโดยใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัล ในการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้วยการจัดการความรู้เป็นฐาน
2) ส่งเสริมการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน Standard Operation Procedure (SOP) ในกระบวนการทำงานของสำนักงาน ก.ค.ศ. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้ให้กับบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ
3) จัดการความรู้ ( KM ) ในเรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการทำงานของบุคลากรให้เป็นไปตาม Key Requirement ของกระบวนการที่รับผิดชอบ
เป้าประสงค์ที่ 2
บุคลากรของสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้รับการพัฒนาสมรรถนะเป็นไปตาม Training Road Map
- ตัวชี้วัด
ร้อยละของบุคลากรของสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้รับการพัฒนาสมรรถนะเป็นไปตาม Training Road Map
- กลยุทธ์
1) จัดทำโมเดลสมรรถนะ (Competency Model) ที่สะท้อนสมรรถนะความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ที่เชี่ยวชาญของบุคลากรสำนักงาน ก.ค.ศ. จำแนกตามตำแหน่ง (Specific Functional Competency) เพื่อใช้เป็นฐานในการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร
2) จัดทำแผนพัฒนาสมรรถนะบุคลากรรายบุคคลในระยะยาว หรือ Training Road Map จำแนกรายตำแหน่งของบุคลากรสำนักงาน ก.ค.ศ. เพื่อใช้เป็นฐานในการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรไปพร้อมกับความก้าวหน้าในสายอาชีพ
3) ส่งเสริมการนำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) เป็นเครื่องมือการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรที่เชื่อมโยงกับ Training Road Map ของสำนักงาน ก.ค.ศ.
4) จัดกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรไปพร้อมกับความก้าวหน้าในสายอาชีพที่ครบวงจรการพัฒนาสมรรถนะที่เป็นสมรรถนะในภาพรวมและเป็นรายบุคคล รวมทั้งการพัฒนาแหล่งเรียนรู้รายตำแหน่งที่ถูกต้อง ทันสมัยและทันเวลาที่เป็นทางการของสำนักงาน ก.ค.ศ.
เป้าประสงค์ที่ 3
บุคลากรมีความผาสุกในการปฏิบัติงานในสำนักงาน ก.ค.ศ.
- ตัวชี้วัด
ร้อยละของระดับความพึงพอใจที่มีต่อคุณภาพชีวิตที่ดีในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงาน ก.ค.ศ.
- กลยุทธ์
ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้ง กาย ใจ จิต รวมถึงสุขภาพทางการเงิน
1) ส่งเสริมสุขภาพกายของบุคลากร โดยการเสริมพลังด้วยกิจกรรมและการจัดการความรู้ที่นำไปสู่การรักษาสุขภาพด้วยตนเอง
2) ส่งเสริมสุขภาพจิตของบุคลากร โดยการเสริมพลังด้วยกิจกรรมและการจัดการความรู้ที่นำไปสู่การรักษาสุขภาพจิตด้วยตนเอง
3) ส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกการมีวินัยทางการเงินให้กับบุคลากรที่เสริมพลังให้บุคลากรสามารถบริหารจัดการทางการเงินที่ดีได้ด้วยตนเอง
4) ส่งเสริมให้บุคลากรมีคุณธรรม จริยธรรม เสริมพลังการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น และการอยู่ร่วมกันในสังคม รวมถึงจิตสำนึก ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชดำเนิน ดุสิต กทม. 10300
Copyright © 2019 www.otepc.go.th