|
คณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนส่วนราชการ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 ประกอบกับข้อ 15 (10) ของข้อบังคับคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูว่าด้วยการบริหารเงินทุนหมุนเวียน เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู พ.ศ. 2561 และมติคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนส่วนราชการ ประกอบด้วย
|
1. |
หัวหน้าส่วนราชการ |
ประธานอนุกรรมการ |
2. |
ผู้แทนสำนักงาน ก.ค.ศ. |
อนุกรรมการ |
3. |
ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนโยบายภาครัฐ |
อนุกรรมการ |
|
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือผู้แทน |
อนุกรรมการ |
4. |
เจ้าหน้าที่ที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมาย |
อนุกรรมการ |
|
(จำนวน 1 คน) |
|
5. |
เจ้าหน้าที่ที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมาย |
อนุกรรมการ |
|
(จำนวน 1 คน) |
และผู้ช่วยเลขานุการ |
หน้าที่คณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนส่วนราชการ |
1. |
กำหนดแนวปฏิบัติในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูในสังกัดอย่างเป็นระบบ |
|
และให้มีสอดคล้องกับนโยบายของคณะกรรมการ |
2. |
เสนอแนะและให้ความเห็นเกี่ยวกับการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู |
|
ต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง |
3. |
ปฏิบัติงานตามนโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ วิธีการ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติของคณะกรรมการ |
4. |
พิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานต่างๆ เพื่อดำเนินการคัดเลือกข้าราชการครู ในหน่วยงานการศึกษาในสังกัด |
|
ผู้มีสิทธ์กู้ยืมเงิน รวมทั้งการพิจารณาจัดอันดับความจำเป็นในการกู้ยืม |
5. |
วิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้และพิจารณาอนุมัติคำขอกู้ยืมของข้าราชการครูในสังกัด |
6. |
ติดตามลูกหนี้ค้างชำระและรายงานผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการแก้ไข้ปัญหาหนี้สินข้าราชการครูในสังกัด |
|
รวมทั้งอุปสรรคต่างๆ ให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ทราบ เพื่อเสนอคณะกรมมการหรือคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง |
7. |
ปฏิบัติงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องและตามที่คณะกรรมการมอบหมาย |
ดาวน์โหลดเอกสาร |
|
 |